วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พลเมืองดีของประเทศชาติเเละสังคมโลก

ความหมาย
       พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น
ความสำคัญ
      พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติและการเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี
     วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี มีดังนี้
        1. เพื่อให้รู้จักปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
        2. เพื่อปลูกฝังทักษะการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
        3. เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
        4. เพื่อปลูกฝังให้มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อสังคม
ลักษณะของพลเมืองดี
        การเป็นพลเมืองดีจะมีลักษณะอย่างไรนั้น สังคมจะเป็นผู้กำหนดลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อที่จะได้พลเมือง ที่ดี ต้องการังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกในสังคมก็จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐานและคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้
      คุณสมบัติพื้นฐาน คือ คุณสมบัติทั่วไปของการเป็นพลเมืองดี เช่นขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด
รับผิดชอบ มีเหตุผล โอบอ้อมอารี มีเมตตา เห็นประโยชน์ส่วนรวมมีความสำคัญเสมอ
       คุณสมบัติเฉพาะ คือ คุณสมบัติเฉพาะอย่างที่สังคมต้องการให้บุคคลพึ่งปฏิบัติ เช่นต้องการบุคคลที่มี
คุณธรรมนำความรู้ ต้องการให้คนในสังคมไทยหันมาสนใจ พัฒนาวิจัยในงานอาชีพด้านการเกษตรให้มาก
เนื่องจากเป็นพื้นฐานของสังคมไทย เนื่องจากเป็นพื้นฐานของสังคมไทย เพื่อการพัฒนาสังคมให้เจริญ
ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม เมื่อพลเมืองทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
2.เป็นผู้มีเหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทุกคนย่อมมีอิสรเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสานความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน
3.ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฏิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น
4.เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย  เป็นการส่งผลต่อความมั่นคงและความก้าวหน้าขององค์กร ซึ่งสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม  เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่างที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม  เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง   หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
5.เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ควรรูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น   การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย
6.มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน ประเทศชาติ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆให้สมาชิกแต่ละคนนำไปปฏิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มที่
7.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง การปกครอง ในสังคมประชาธิปไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
8.มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ช่วยสอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี 
9. มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามหลักธรรม ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆก็ตาม
แนวทางการพัฒนาตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
      ถ้าบุคคลตระหนักถึงคุณลักษณะของการเป้นพลเมืองดีต่อประเทศชาติและสังคมโลกทั้ง 7 ประการดังกล่าวแล้ว  ก็สมควรจะพัฒนาตนเองให้มีคุณคุณลักษณะดังกล่าวด้วย  เพื่อที่จะได้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน  และชุมชน  ซึ่งแนวทางการพัฒนาตนเป็นพลเมืองดี  มีดังนี้
          1. การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
              ในครอบครัวจะประกอบด้วยสมาชิกที่สำคัญ  ได้แก่  พ่อ  แม่  และลูก  ในบางครอบครัวคนอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย  เช่น  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  เมื่อเราอยู่ร่วมกันในครอบครัว  สมาชิกทุกคนต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น
                        
           2.การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน

    เมื่อเราอยู่ในโรงเรียน  เราทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อโรงเรียน  เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้  ซึ่งเราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ อีกมากมาย  ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียนและโรงเรียน  เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  และเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย  เช่น  
               -  เมื่อมาโรงเรียน  เราต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียน  เช่น  แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ  มาให้ทันเข้าแถวเคารพธงชาติในตอนเช้า
               -  เมื่ออยู่ในโรงเรียน  เราต้องช่วยกันรักษาความสะอาดในห้องเรียน  และในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน  ทิ้งขยะลงในถังขยะที่โรงเรียนจัดให้
               -  ให้ความเคารพเชื่อฟังครูอาจารย์  ตั้งใจเรียนหนังสือ  รวมทั้งทำงานต่าง ๆ ที่ครูมอบหมายด้วยความตั้งใจและเอาใจใส่
          นอกจากนี้  เราควรปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียนและโรงรียน  เช่น
               -  ปฏิบัติในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ต้องรู้ว่าเมื่อเราเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรปฏิบัติตนอย่างไร  และเมื่อเป็นผู้ตามควรปฏิบัติตนอย่างไร
               -  รู้จักแสดงความคิดเห็นตามสิทธิของตนเอง  รวมทั้งรุ้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และเคารพข้อตกลงของคนส่วนใหญ่
               -  ถ้าเกิดข้อขัดแย้งกัน  ให้แก้ปัญหาด้วยหลักเหตุผล  ไม่ใช้อารมณ์หรือพละกำลังในการแก้ปัญหา  เพราะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง  แต่กลับจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
               -  ในการแข่งขันทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  เช่น  การแข่งกีฬา  การประกวดในด้านต่าง ๆ ต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้รู้จักแพ้  ชนะ  และให้อภัย  รวมทั้งยอมรับในคำตัดสินของคณะกรรมการ

3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
     การปฏิบัติตนในฐานะตนในฐานะสมาชิกของชุมชน  สามารถทำได้หลายวิธี  ซึ่งในวัยของนักเรียนควรปฏิบัติ  ดังนี้
      3.1  ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของชุมชน  เช่น  ปฏิบัติตามกฎจราจร  โดยข้ามถนนตรงทางม้าลาย  หรือสะพานลอย  ไม่วิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถ  ไม่ทิ้งขยะลงในที่สาธารณะ  ไม่ทำลายสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ  และทรัพย์สินส่วนตัวของผู้อื่นให้ได้รับความเสียหายเพราะความสนุกสนานของตนเอง
       3.2  เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน  เพื่อช่วยรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนไว้  ในแต่ละชุมชนจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา  เช่น  ประเพณีการทำบุญเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา  ประเพณีวันสงกรานต์  ประเพณีวันลอยกระทง
        3.3  บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน  เช่น  ช่วยเก็บเศษขยะที่พบเห็นในบริเวณต่าง ๆ ช่วยดูแลต้นไม้  ดอกไม้ในสวนสาธารณะของชุมชน
        3.4  ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน  โดยให้ทุกคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม  เช่น  ชุมชนที่มีป่าชายเลน  ควรจะร่วมใจกันอนุรักษ์ป่าชายเลน  เพื่อให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นแหล่งหลบภัยของลูกสัตว์น้ำอีกด้วย
               ชุมชนที่อยู่ติดชายทะเล  ควรร่วมใจกันรักษาความสะอาดของชายหาด  เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของชุมชน
               การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนควรเป็นความร่วมมือกันหลายฝ่ายระหว่างบ้าน  โรงเรียน  และชุมชน


4. การเป็นสมาชิกที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก

     4.1เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม
           เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้ะอื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน  ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ   

           นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
       4.2 เป็นผู้มีเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
              ทุกคนย่อมมีอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสานความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน
        4.3ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ 
              เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร  ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฎิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น
         4.4เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย  และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
               ผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละ ในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย  เป็นการส่งผลต่อความมั่นคง และความก้าวหน้าขององค์กร  ซึ่งสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม  เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่างที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม  เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง   หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
          4.5เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น  
                ควรรูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย
          4.6มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม ชุมชน ประเทศชาติ   
               ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ  จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆให้สมาชิกแต่ละคนนำไปปฎิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มที่
           4.7มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง  การปกครอง  
                ในสังคมประชาธิประไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง  เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
           4.8มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศษฐกิจ  สังคม  การเมืองการปกครอง  
                 ช่วยสอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง  ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู  รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี  
            4.9มีคุณธรรม  จริยธรรม  และปฎิบัติตนตามหลักธรรม 
                  ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม  ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆก็ตาม
คุณธรรม  จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
คุณธรรม  จริยธรรมคือ สิ่งที่เป็นความดีควรประพฤติปฏิบัติ เพราะจะนำความสุข ความเจริญ ความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติ สังคม และบุคคล  คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
        1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ประเทศชาติ
        2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  หมายถึง การปฏิบัติกิจการงานของตนเอง และที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม อุทิศกำลังกาย กำลังใจอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้รวมไปถึงการรับผิดเมื่องานล้มเหลว พยายามแก้ไขปัญหาและอุปสรรคโดยไม่เกี่ยงงอนผู้อื่น
        3. ความมีระเบียบวินัย  หมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง  ครอบครัว และสังคมกำหนดไว้ โดยที่จะปฏิเสธไม่รับรู้กฎเกณฑ์หรือกตาต่าง ๆ ของสังคมไม่ได้ 
        4. ความซื่อสัตย์  หมายถึง การปฏิบัติตน ทางกาย วาจา จิตใจ ที่ตรงไปตรงมา  ไม่แสดงความคดโกงไม่หลอกลวง  ไม่เอาเปรียบผู้อื่น  ลั่นวาจาว่าจะทำงานสิ่งใดก็ต้องทำให้สำเร็จเป็นอย่างดี  ไม่กลับกลอก  มีความจริงใจต่อทุกคน  จนเป็นที่ไว้วางใจของคนทุกคน
        5. ความเสียสละ  หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความตั้งใจจริง  มีเจตนาที่บริสุทธิ์  คุณธรรมด้านนี้เป็นการสะสมบารมีให้แก่ตนเอง ทำให้มีคนรักใคร่ไว้วางใจ เป็นที่ยกย่องของสังคม  ผู้คนเคารพนับถือ
        6. ความอดทน  หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใด ๆ มุ่งมั่นที่จะทำงานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน  ความอดทนมี 4 ลักษณะ คือ
- อดทนต่อความยากลำบาก เจ็บป่วย ได้รับทุกขเวทนาก็ไม่แสดงอาการจนเกินกว่าเหตุ
- อดทนต่อการตรากตรำทำงาน ไม่ทอดทิ้งงาน ฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จ
- อดทนต่อความเจ็บใจ  ไม่แสดงความโกรธ  ไม่อาฆาตพยาบาท  อดทนต่อคำเสียดสี
- อดทนต่อกิเลส คือ ไม่อยากได้ของผู้อื่นจนเกิดทุกข์ ไม่ตอบโต้คนอื่นที่ทำให้เราโกรธ และไม่ลุ่มหลงในสิ่งที่จะพาเราไปพบกับความเสียหาย
        7. การไม่ทำบาป  หมายถึง การงดเว้นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย  สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเพราะเป็นเรื่องเศร้าหมองของจิตใจ  ควรงดเว้นพฤติกรรมชั่วร้าย 3 ทาง คือ
- ทางกาย  เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทุจริต ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี
- ทางวาจา  เช่น ไม่โกหก ไม่กล่าวถ้วยคำหยาบคาย ไม่ใส่ร้าย
- ทางใจ  เช่น ไม่คิดเนรคุณ ไม่คิดอาฆาต ไม่คิดอยากได้ 
         8. ความสามัคคี หมายถึง  การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ โดยไม่มีการเกี่ยงงอนหรือคิดชิงดีชิงเด่นกัน  ทุกคนมุ่งที่จะให้สังคมและประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง มีความรักใคร่กลมเกลียวกันด้วยความจริงใจ  ความไม่เห็นแก่ตัว  การวางตนเสมอต้นเสมอปลายก็หมายถึงความสามัคคีด้วย   
บทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีต่อประเทศชาติ และสังคมโลก
บทบาท  หมายถึง  การปฏิบัติตามสิทธิ  หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล  เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว  ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
หน้าที่  หมายถึง  ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น  หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร  เป็นต้น
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวัฒนธรรมไทย
            วัฒนธรรม คือ แบบแผนการกระทำ หรือผลการกระทำที่พัฒนาจากสภาพเดิมตามธรรมชาติให้ดีงามยั่งยืนจนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม  เช่น กิริยา มารยาท การพูด การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น วัฒนธรรมการไหว้ เป็นวัฒนธรรมภายนอกที่มักได้รับการตอบสนองจากผู้ได้รับด้วยการไหว้ตอบนอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมไทยอื่นๆที่งดงาม เช่น การกราบ การทำบุญตักบาตร การแต่งกายแบบไทย เป็นต้น
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามประเพณีไทย
            ขนบธรรมเนียมประเพณี  คือ สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดสืบทอดกันมาและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม  สิ่งที่ดีงามของแต่ละสังคมอาจเหมือนกัน คล้ายกัน หรือแตกต่างกันก็ได้ และสิ่งที่ดีงามของสังคมหนึ่งเมื่อเวลาผ่าน ไปสังคมนั้นอาจเห็นเป็นสิ่งไม่ดีงามก็ได้
            วัฒนธรรมและประเพณีไทย เป็นกิจกรรมที่สืบทอดมายาวนานและสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งดีควรอนุรักษ์ไว้
การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก
          การที่บุคคลจะเป็นสมาชกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก  จะต้องคำนึงถึงสถานภาพ  บทบาท  สิทธิ  เสรีภาพ  และหน้าที่ในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี